คริคริ

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555



งานที่ได้รับมอบหมาย Search Engine

Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา


Search Engine มีกี่ประเภท ?
Search Engine มี?3?ประเภท (ในวันที่ทำการศึกษาข้อมูลนี้และได้ทำการรวบรวมข้อมูล ผมสรุปได้?3 ประเภทหลัก) โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และ การจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วยครับ เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันนี่เองทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้ก็มีเพียง?3 ประเภทหลัก ๆ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้ครับ


ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines

Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน


โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ
1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก

2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com

ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างดังนี้

1. ODP หรือ Dmoz ที่หลาย?ๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscapeและอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )

2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )

3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้ครับ


ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ

ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย?ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.


ที่มา : สิทธิศักดิ์ บุญมาก

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

     ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
-รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
-พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
-การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

     รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังต่อปัยนี้ คือ
1.เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียม ถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิติทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์
2.เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก,จานแม่เหล็ก,จานแสงหรือจานเลเซอร์,บัตรเอทีเอ็ม
3.เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
4.เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่นเครื่องพิมพ์,จอภาพ, พลอตเตอร์,และอื่นๆ
5.เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร,เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6.เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูลได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่างๆ เช่นโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะไกล และระยะใกล้

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในทางธุรกิจ และการศึกษา ดังตัวอย่างเช่น
- ระบบเอทีเอ็ม
- การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
- การลงทะเบียนเรียน


พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
การแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความ หรือ ตัวอักษร ตัวเลขและภาพเครื่อนไหว เป็นต้น


การใช้อินเทอร์เน็ต
การวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนุักศึกษาในสถาบันศึกษาพบว่า
นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะที่การใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเรียนรู้ การติดตามข่าวสารของสถานศึกษา

ใช้อินเตอร์เน็ตทำอะไรได้บ้าง
งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อน ๆ และการใช้่ค้นข้อมูลจากห้องสมุด

นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประกอบการทำรายงาน

สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
งานวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน และมีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน

นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้หรือมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยในรูปแบบไหนบ้าง ?
งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย ได้แก่ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้แบบออนไลน์ ( e-learning ) วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย ( video on Demand ) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- การเรียนรู้แบบออนไลน์ ( e-learning )
- บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Assisted Intruction - CAI ) หรือ ( Computer Aide Intruction )
- วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย ( Video on Demand - VOD)
- หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( e - Books )
- ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ( e - Library )

การเรียนรู้แบบออนไลน์ ( e-learning )
เป็นการศีกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ( Internet ) หรือ อินทราเน็ต ( Intranet ) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดืโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรืยนผ่านเว็บบราวเซอร์ ( Web Browser ) โดยผู้เรียนผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อปรึกษา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้ เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติโดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารมี่ทันสมัยสำหรับทุกคน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ ( Learning for all : anyone , anywhere and anytime )

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Assisted Intruction - CAI )

คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่นำเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้างและพิจรณามาเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบและการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียง หรือ ทั้งภาพทั้งเสียง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการนำหลักการเบื้องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบโดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ ( Learning Behavior ) ทฤษฎีการเสริมแรง ( Reinforcement Theory ) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขปฏิบัติ ( Operant Conditioning Theory ) ซึ่งถือว่าความสัมพันธ์ระหว่าสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของตน

วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย ( Video on Demand - VOD)

คิอระบบการเรียกดูภาพยนต์ตามสั่งที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนต์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการ ตามสโลแกนที่ว่า " To view what one wants , when one wants " โดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครือข่ายสื่อสาร ( Telecommunication Networks ) ผู้ใช้งานซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย ( Video Client ) สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมือตามต้องการและสามารถควบคุมข้อมูลวิดีโอนั้นๆ โดยสามารถย้อนกลับ ( Rewind ) หรือกรอไปข้างหน้า ( Forward ) หรือหยุดชั่วคราว ( Pause ) ได้ เปรียบเสมือนการดูวิดีโอที่บ้านนั่นเองทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกัน กล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน หรือต่างกันได้

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

     

สารสนเทศ


สารสนเทศ
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสารที่สำคัญเป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้น ภายในองค์กรต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์กรค์นั้นๆ
สารสนเทศ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information หมายถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า สารสนเทศที่เป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้และปฏิบัติ
สารสนเทศมีความตามที่ได้มีการให้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้ สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลทางด้านปริมาณและทางด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไรเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที (IT=Information and communication Technology)
เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล และการแสดงผลสารสนเทศ
องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคม(Telecommunication Technology)
1.) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จัดเป็เทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบันเนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การปะมวลผล การแสดงผลและการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้ 2 ส่วน คือเทคโนโลยีฮาร์ดแแวร์และเทคโโลยี ซอฟต์แวร์
1.1) เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
1 หน่วยรับข้อมูล
2 หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู : CPU(Central Processsing unit)
3 หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
4หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit)
1.2) เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ (Software)
หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 ) ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทำงานตามคำสั่ง
2 ) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือชุดคำสั่ง ที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
2. เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายเคเบิล และระบบสื่อสารอื่นๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- แผนพัฒนาเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (2520-2524) การมีส่วนร่วมของสารสนเทศเพื่อการศึกษา
- มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น
-ในแผนพัฒนาเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ก็ได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น
- ในแผนพัฒนาเศรฐกิจที่ 9 มีการจัดทำแผนหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการการศึกษา


•แผนพัฒนาฯข้างต้นทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียม ทั่วถึง มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า
•พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ

•ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
• ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบัน หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
•ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา 1. ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ
•สรุป

การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง อินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานในสถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบบริหารจัดการห้องสมุด และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษายังช่วยให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
                                             วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
               Information and Communication Technology for Teaachers
รหัส PC54504 3(2-2-5)


คำอธิบายรายวิชา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ก ระบบซอฟแวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปัฎบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Assignment 1

1.จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ ตามความเข้าใจของนักศึกษาเอง
   -เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง
       สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นสิ่งที่ทันสมัย มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยในการแก้ใขปัญหาต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์

  -เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technologx) หมายถึง
       เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีที่รับส่งข้อมูลโดยมีตัวกลางหรือไม่มีก็ได้ สามารถกระจายข้อมูลได้

 -เทคโนโลยีการสื่อสาร (commainic ation technology) หมายถึง
       เทคโนโลยีที่ใช้ไนการสื่อสารข้อมูลถึงกัน หรือรับส่งข้อมูล เช่น อุปกรโทรศัพท์มือถือ  คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีชนิดนี้ อาจมีราคาแพงหรือมีราคาถูกขึ้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของตัวเทคโนโลยีนั้นๆ

2.syber Bully หมายถึงอะไร
      หมายถึง การกลั่นเเกล้งในโลกไฟเบอร์ การประทุษร้ายทำให้ผุ้อื่นอับอาย ผ่านการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
เช่น อีเมลล์ การส่งข้อความ บล็อก เว็บไชต์ ชุมชนออนไลน์ สิ่งที่นักเลงไซเมอร์ตั้งใจ คือการแสดงเป็นคู่ศัตรู